norton

ดนตรี พื้นเมืองและที่มาของดนตรีในแต่ละภาคของประเทศไทย ปี 2066

เครื่องดนตรี พื้นเมือง

ดนตรี พื้นเมืองและที่มาของดนตรีในแต่ละภาคของประเทศไทย เสียงดนตรี นั้นเป็นสิ่งที่คอยขับเกล่าเหล่ามนุษย์มาอย่างช้านาน ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความสุข ความทุกข์ ความเศร้าหรือสรรเสริญ ในอิริยาบทแบบต่างๆ มากมายมานาน อีกทั้งยังเป็นตัวแทน ของวัฒนธรรมถิ่นต่าง ๆ ของมนุษย์ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก และร่วมไปถึงในประเทศไทยเราอีกด้วย และในบทมความนี้ เราขอพาทุกๆ ท่านได้มาทำความรู้จักกับ เครื่องดนตรีในแต่ละภมิภาค ของประเทศไทยเรานี้ ที่มีเสน่ห์อันน่าหลงใหลมีแตกต่างกันออกไปด้วยครับ

สำหรับ ดนตรี พื้นเมือง  4 ภาค จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กัน

ดนตรีพื้นบ้านทางภาคกลาง 

ดนตรีพื้นบ้านทางภาคกลาง สำหรับเครื่องดนตรีของภาคกลางนั้น มักจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยแบ่งได้ดังต่อไปนี้
เครื่องดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีจะเข้และจ้องหน่อง
เครื่องสี ได้แก่ เครื่องดนตรีซอด้วงและซออู้
เครื่องตี ได้แก่ เครื่องดนตรีระนาดเอก, ฆ้อง, ฉิ่ง, ระนาดทุ้ม ระนาดทอง, ฉาบและกรับ
เครื่องเป่าได้แก่ เรื่องดนตรีขลุ่ยและปี่ 

ดนตรีภาคกลาง

โดยที่เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านในภาคกลาง ก็คือ มีวงปี่พาทย์ของทางภาคกลางซึ่งจะมีการพัฒนากันในลักษณะแบบผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยจะมีการพัฒนาจากดนตรีปี่ และกลองเป็นหลัก ถัดมาเป็นระนาดและฆ้องวง พร้อมทั้งมีการเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนได้เป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังได้มีการขับร้อง ที่คล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งก็เป็นผลมาจากการถ่ายโยงกันทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวงนั่นเอง

ดนตรีพื้นเมืองบ้านทางภาคเหนือ 

ดนตรีพื้นเมืองบ้านทางภาคเหนือ สำหรับเครื่องดนตรีของภาคเหนือจะแบ่งเป็นช่วงยุค ดังนี้
ยุคแรกๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ซึ่งได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่นำมาใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่าเจ้าเขา และจากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยมีการนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้ แล้วกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่า “กลอง” เวลาต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบของกลองให้มีความแตกต่างออกไปตามกิจกรรม หรือพิธีการที่ใช้ อย่างเช่น กลองรำมะนา, กลองมองเซิง, กลองสองหน้า, กลองยาว และตะโพนมอญ เป็นต้น 

โดยที่เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านทางภาคเหนือ ก็คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า นำมามาผสมวงกัน เพื่อให้มีความสมบูรณ์และมีความไพเราะ โดยเฉพาะในด้านของสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวไปตามบรรยากาศ โดยความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ ผสานกับวัฒนธรรมในราชสำนัก จึงทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรี กันได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและของวัง และในแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์ตามแบบเฉพาะถิ่น

ดนตรีภาคเหนือ

ดนตรีพื้นบ้านของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดนตรีพื้นบ้านของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ได้มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานนับพันปีแล้ว โดนที่เริ่มจากในระยะต้น ได้มีการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาทำเพื่อเลียนเสียงจากธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง และในระยะต่อมาก็ได้มีการใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติเพื่อเอามาเป่า อย่างเช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้อง ลำไม้ไผ่ เพื่อทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น 

เวลาต่อมาได้มีการพัฒนา และมาใช้หนังสัตว์และเครื่องหนังเอามาใช้เป็นวัสดุในการสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและมีรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง เป็นต้น 

โดยที่เสน่ห์และเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีอีสานก็คือ ได้มีการการนำเอาเครื่องดนตรี มาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านแบบภาคอีสาน ที่มีลักษณะเฉพาะแบ่งตามพื้นที่ 3 กลุ่ม ก็คือ กลุ่มอีสานเหนือและอีสานตอนกลางจะนิยมดนตรีประเภทหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงอยู่ร่วมกับการขับร้อง ส่วนในกลุ่มทางอีสานใต้ ก็จะนิยมดนตรีแบบกันตรึม ซึ่งจะเป็นดนตรีบรรเลงที่มีความไพเราะของชาวอีสานใต้ ที่มีเชื้อสายทางเขมร โดยนอกจากนี้ก็ยังมีวงพิณพาทย์และมีวงมโหรีด้วย โดยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะมีการบรรเลงดนตรีเหล่านี้กัน เพื่อเพิ่มความสนุกสนานครื้นเครง และใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่างด้วยนั่นเอง 

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ 

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ เป็นเครื่องดนตรีภาคใต้ที่มีลักษณะเรียบง่าย โดยมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีมาจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งได้สันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้ก็น่า จะมาจากพวกเงาะซาไก ที่มีการใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่างๆ กัน แล้วตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แล้วตัดเอาปากของกระบอกไม้ไผ่ ให้ตรงหรือแนวเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือว่ากาบของต้นพืช เพื่อใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ 

เวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีประเภทแตร กรับ กลองในแบบชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น กลองรำมะนา ที่มีการได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือว่ากลองตุ๊ก ที่ใช้บรรเลงเพื่อประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งมีการได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียด้วย เป็นต้น 

ดนตรี พื้นเมือง

สำหรับเสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านของทางภาคใต้ จะได้รับอิทธิพลผสานมาจากดินแดนใกล้เคียงลักษณะหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสาน แล้วเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเน้น จังหวะและลีลาที่จะเร่งเร้า หนักแน่น และมีความคึกคัก เป็นต้น

เราหวังว่าบทความ เรื่อง ดนตรี พื้นบ้าน ดนตรี พื้นเมือง นี้จะช่วยทำให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจและได้รู้จักเครื่องดนตรีของแต่ละภาคของประเทศไทย ซึ่งมีการเลานการแสดงที่แตกต่างกันกัน ซึ่งทำให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละที่ด้วยนะครับ

admin2

admin2

เรื่องเด่น

Scroll to Top

รวมเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น หวย ดวง กีฬา การท่องเที่ยว ดนตรี พร้อมอัพเดทข่าวสารทันต่อเหตุการณ์

เรื่องที่น่าสนใจ